วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ข้อปฏิบัติการขับรถท่องเที่ยว ในเส้นทางวิบาก
ข้อปฏิบัติการขับรถท่องเที่ยว ในเส้นทางวิบาก (อสท.)
1. จัดตำแหน่งการนั่งขับให้มั่นคง ปรับตำแหน่งกระจกมองข้าง กระจกมองหลังให้มองเห็นชัดเจน ปรับระดับพวงมาลัย ที่นั่งให้พอดีกับคันเร่ง เบรก คลัตซ์ เพื่อการควบคุมรถได้มีประสิทธิภาพสูงสุด จะได้ขับรถเที่ยวได้อย่างสนุก
2. รัดเข็มขัดนิรภัยเสมอ ไม่ว่าสภาพเส้นทางเป็นอย่างไร
3. การออกตัว การเร่ง การเบรก และการบังคับเลี้ยว จะต้องเป็นไปอย่างประสานสัมพันธ์กัน โดยค่อย ๆ เหยียบคันเร่งเพื่อป้องกันล้อหมุนฟรี เพราะการเร่งแรงและเพิ่มรอบของเครื่องยนต์เร็วเกินไป จะทำให้ล้อหมุนฟรีจมลงในทราย โคลน หรือเกิดการลื่นไถล เสียสมดุลของรถได้ การค่อย ๆ กดคันเร่งและรักษารอบของเครื่องยนต์ให้คงที่ จะทำให้รถสามารถข้ามผ่านอุปสรรคไปได้ ยิ่งหากเป็นการเข้าเกียร์สโลว์ การเหยียบคันเร่งจะตอบสนองอย่างรวดเร็วและมีพลัง การเร่งเท่าที่จำเป็นและค่อย ๆ เร่งเพิ่มอย่างนุ่มนวลเมื่อจำเป็นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และเช่นเดียวกันการผ่อนคันเร่งอย่างนุ่มนวล ก็จะทำให้การขับเป็นไปอย่างนุ่มนวลด้วย
4. ในการขับรถท่องเที่ยว การเบรกก็จะต้องเป็นไปอย่างนุ่มนวลโดยพยายามควบคุมความเร็ว ชะลอความเร็วก่อนถึงสิ่งกีดขวาง เพื่อหลีกเลี่ยงการเบรกอย่างกะทันหัน รุนแรง การเบรกรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการล้อล็อก หรือลื่นไถลเสียการทรงตัวของรถได้
5. เมื่อขึ้นและลงเขาให้ใช้เกียร์ต่ำ เพื่อเพิ่มพลังเครื่องยนต์และใช้เกียร์ต่ำช่วยชะลอควบคุมความเร็วของรถในขณะลงเขาร่วมกับการใช้เบรก
6. การขับรถผ่านเส้นทางที่มีก้อนหินหรือเนินดินขวาง พยายาม ขับให้ล้อปีนข้ามก้อนหินช้า ๆ โดยใช้เกียร์ต่ำ เพื่อช่วยไม่ให้ช่วงล่างกระทบกระแทกหิน ควรหลีกเลี่ยงการขับคร่อมก้อนหิน เพราะอาจทำให้ช่วงล่างกระแทกกับก้อนหินเสียหายได้
7. พยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นทรายหรือโคลน หากจำเป็นต้องลุยผ่านให้ใช้เกียร์ต่ำ รักษารอบให้สม่ำเสมอพยายามอย่าเร่งเครื่องบินเกินความจำเป็นเพราะอาจทำให้ ล้อฟรีจมโคลนลึกลงไปจนยากแก่การแก้ไข
8. การขับเคลื่อนผ่านทางที่เป็นร่องลึกรูปตัว V ให้ ขับคร่อมไปบนร่อง แม้ขอบของร่องจะกว้างกว่าสองข้างของช่วงล้อรถ ให้ค่อย ๆ คร่อมและเคลื่อนตรงไปข้างหน้าช้า ๆ รักษารถให้ตรง หากรถเกิดอาการเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งให้หยุด อย่าพยายามเคลื่อนไปข้างหน้า เพราะอาจทำให้รถของท่านลื่นไถลตะแคงข้างได้ ให้ค่อย ๆ หันพวงมาลัยไปด้านที่เอียง แล้วเร่งเครื่องเบา ๆ ให้รถกลับทรงตัวอย่างเดิม แล้วจึงค่อย ๆ เคลื่อนต่อไปข้างหน้าดังเดิม
9. หากเวลาขับรถท่องเที่ยว ปีน ข้ามหิน หรือสะพานไม้แคบที่มีเส้นทางเฉพาะ ควรมีคนลงไปทำหน้าที่บอกทาง โดยคนบอกทางต้องมีคนเดียวผู้ขับต้องเปิดกระจกฟังการบอกทาง นั่งในตำแหน่งขับอย่างมั่นคง มองตรงไปข้างหน้าอย่าใช้วิธียื่นหัวออกมานอกตัวรถ มองสัญญาณมือจากคนบอกทางและค่อย ๆ ควบคุมรถไปตามนั้นจนข้ามผ่านอุปสรรค
10. หากไม่แน่ใจต่อเส้นทางข้างหน้า ให้หยุดรถ เดินลงมาสำรวจเส้นทางให้มั่นใจแล้วจึงขับผ่าน
11. ในการขับรถท่องเที่ยวข้ามลำธาร หาก มองไม่เห็นพื้นดินใต้น้ำ หรือไม่ทราบระดับความลึก ให้ลงมาใช้ไม้วัดระดับความลึกดูก่อน หากระดับน้ำสูงกว่าท่อกรองอากาศของเครื่องยนต์ไม่ควรขับลุยข้ามไป เพราะเครื่องยนต์จะดับกลางน้ำได้ ขับข้ามน้ำช้า ๆ ด้วยรอบเครื่องยนต์ที่สม่ำเสมอ
12. หากเดินทางร่วมกันหลายคันควรทิ้งระยะห่างกันให้มากพอสำหรับความปลอดภัย เพราะกรวดหรือหินจากยางคันหน้าอาจดีดใส่กระจกหน้ารถแตกได้ และเมื่อขึ้นเนินที่สูงชัน ควรจอดรถให้รถคันหน้าขึ้นพ้นเสียก่อน เพราะรถคันหน้าอาจขึ้นไม่ไหวลื่นไถลลงมาได้
ที่มา : http://travel.kapook.com/view14074.html
ข้อปฏิบัติและข้อควรระวังในการเที่ยวป่าหน้าฝน
ข้อปฏิบัติและข้อควรระวังในการเที่ยวป่าหน้าฝน (อสท.)
เรื่อง : วินิจ รังผึ้ง
การ เดินทางท่องเที่ยวสัมผัสธรรมาติ ป่าเขา น้ำตกในฤดูฝน หรือในสภาพอากาศปรวนแปร เอาแน่เอานอนไม่ได้นั้น หากมีการวางแผนการเดินทาง และวิธีปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยที่ดี ก็จะทำให้การเดินทางท่องเที่ยวของท่านเป็นไปอย่างมีความสุข และปลอดภัยยิ่งขึ้น
ข้อปฏิบัติดังกล่าวทำได้ไม่ยาก หากจะลองนำเอาประสบการณ์การเดินทางของนักเดินทางรุ่นก่อน ๆ นำไปใช้กันดู...
1. ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง ด้วยการเข้าไปดูข้อมูลที่เว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th ซึ่งมีรายละเอียดสภาวะอากาศประจำวัน พยากรณ์อากาศในรอบ 3 วัน และในรอบสัปดาห์ แบ่งเป็นภาค กลุ่มจังหวัด ให้ตรวจสอบกันก่อนออกเดินทาง
2. ตรวจสอบสภาพดินฟ้าอากาศจากภาพถ่ายดาวเทียม ง่าย ๆ ด้วยการเข้าไปที่เว็บไซต์ www.google.com แล้วพิมพ์คำว่า ภาพถ่ายดาวเทียม ทางเว็บไซต์จะค้นหาเว็บไซต์ที่แสดงภาพถ่ายดาวเทียมขึ้นมาให้ท่าน ซึ่งภาพถ่ายดาวเทียมจะแสดงภาพแผนที่ประเทศไทย แสดงภาพกลุ่มเมฆและกลุ่มพายุ ให้เห็นว่าปกคลุมอยู่บริเวณจังหวัดใด มีปริมาณมากน้อยเพียงใด โดยภาพถ่ายดาวเทียมจะเปลี่ยนแปลงทันสมัยทุกวัน ทำให้พอจะประเมินได้ว่า สภาพอากาศบริเวณจังหวัดที่จะเดินทางไปเป็นเช่นใด การเช็คภาพถ่ายดาวเทียมก่อนเดินทางไปนั้น จะเป็นประโยชน์มากกับช่างภาพ เพราะจะสามารถรู้ได้ว่าท้องฟ้าจะสดใสมีแสงแดดหรือไม่ หากบริเวณที่จะเดินทางไปมีกลุ่มเมฆมากหรือมีพายุที่กำลังจะเคลื่อนผ่าน ก็อาจจะเลื่อนการเดินทางออกไป หรือมีการเตรียมตัวและใช้ความระมัดระวังให้มากขึ้น
3. การปฏิบัติตนขณะลงเล่นน้ำตก หรือกิจกรรมอื่น ๆ ในสายน้ำ เช่น ล่องแก่ง ให้สังเกตระดับน้ำในลำธารและสีของสายน้ำ หากน้ำมีระดับเพิ่มขึ้น หรือสีของน้ำเปลี่ยนจากน้ำใสเป็นสีแดงขึ้น ขุ่นขึ้น กระแสน้ำไหลเชี่ยวแรงขึ้น ให้รีบขึ้นจากสายน้ำทันที หรือหากล่องแก่งก็ให้พักเรือเข้าฝั่ง หยุดพักดูจนกว่าสถานการณ์จะปลอดภัย ระดับน้ำไม่สูงเพิ่มขึ้น จึงค่อยเดินทางต่อ
4. พยายามสังเกตและฟังเสียงที่ดังผิดปรกติ เพราะน้ำป่าที่เชี่ยวไหลหลากล้นลงมาจากบนภูเขานั้น จะก่อให้เกิดเสียงดังขึ้นกว่าเสียงของสายน้ำปรกติ ซึ่งช่วงระยะเวลาสั้น ๆ นั้น อาจเป็นช่วงนาทีชีวิตที่จะสามารถหนีรอดจากน้ำป่าที่บ่าไหลได้ หรือเตรียมตัวมองทางหนีทีไล่ไว้ให้พร้อมเผื่อเกิดวิกฤติขึ้นมาจะได้หนีขึ้น ที่สูงได้ทัน
5. การลงเล่นน้ำตกควรปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่อย่างเคร่งครัด เช่น ไม่ลงเล่นน้ำในบริเวณเขตหวงห้าม หรือปีนป่ายขึ้นไปบนพื้นที่อันตราย และควรปฏิบัติตามคำแนะนำหรือคำเตือนของเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลสถานที่อย่าง เคร่งครัด
6. หากมีความจำเป็นต้องเข้าไปตั้งแคมป์ในป่า ไม่ ควรตั้งแคมป์ใกล้ชิดริมลำธารมากเกินไป เพราะในตอนกลางคืนขณะพักผ่อนนอนหลับอาจจะมีน้ำป่าบ่าไหลลงมาก่อให้เกิด อันตรายขึ้นได้ ควรเลือกทำเลตั้งแคมป์ที่ปลอดภัยจากระดับน้ำ หรือพ้นจากหุบเขาที่เคยเป็นร่องน้ำหรือช่องทางน้ำไหล
7. หากอยู่ท่ามกลางฝนตก หรือฟ้าคะนองในธรรมชาติ ควรปิดโทรศัพท์มือถือหรือวิทยุ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดฟ้าฝ่า หากไม่จำเป็นแล้ว การทำกิจกรรมกลางแจ้งไม่ควรสวมเครื่องประดับที่ทำจากโลหะติดตัวไป
8. ในสายน้ำหรือตามโขดหินริมลำธารที่ส่วนใหญ่เปียกน้ำอยู่ตลอดเวลานั้น ค่อน ข้างจะลื่นควรระมัดระวังในการเดิน และควรใช้รองเท้าที่กระชับ พื้นรองเท้าควรเป็นยางและมีดอกยาง ซึ่งจะเกาะพื้นหินพื้นดินได้ดีกว่ารองเท้าพื้นแข็ง
9. ไม่ควรอยู่ในชุดเสื้อผ้าที่เปียก หรืออยู่ในน้ำที่หนาวเย็นเป็นเวลานานเกินไป เพราะร่างกายจะค่อย ๆ สูญเสียความร้อน และอาจจะเป็นตะคริวจมน้ำ หรือเป็นไข้ได้
ที่มา : http://travel.kapook.com/view15417.html
เช็กรถก่อนเดินทาง
เช็กรถก่อนเดินทาง (momypedia)
โดย: แพนด้าทะเล
แน่ใจหรือว่ารถคุณพร้อมแล้ว?
ตอนนี้เป็นช่วง "ปลายฝนต้นหนาว" ฝนคงจะตกน้อยลงแล้ว อากาศก็ไม่ร้อนมากนัก ประกอบกับเป็นช่วงปลายปี ทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลให้เราควรจะใช้วันพักร้อนที่เหลือของปีนี้ให้หมดไป ด้วยการไปเที่ยวต่างจังหวัด...เย้!!!
ถึงแม้ว่าเราจะผู้ชายของเราคอยดูแลเราอยู่ ทั้งเรื่องรถและเส้นทาง แต่ถ้าเรารู้เรื่องบ้างก็ยิ่งดีใช่ไหมคะ หรือถ้าเราเป็นคนขับรถเองก็ยิ่งจำเป็นต้องรู้ค่ะ
น่าจะเช็กความเรียบร้อยเหล่านี้ก่อนเดินทางอย่างน้อยสัก 1 วัน เพราะหากขาดเหลืออะไรยังแก้ไขได้ทัน หรือถ้าไม่ทันจริงๆ ค่อยดูตอนเช้าก่อนไปก็ยังดีเนอะ
ต้องเช็กอะไรบ้าง
1. อย่างแรกก็เช็คระดับน้ำในหม้อน้ำก่อนเลย ต้องให้น้ำอยู่ในระดับเต็มเปี่ยมนะคะ
2. แล้วก็เช็คลมยาง ทั้ง 4 ล้อที่ตัวรถและยางอะไหล่ (ถ้าจะให้ดีก็ซื้อที่วัดลมยางมาติดไว้สักอัน) แต่ต้องวัดตอนที่ยางมันเย็นนะ ส่วนต้องเติมลมเท่าไหร่ก็ดูตัวเลขที่คู่มือหรือข้อมูลที่แปะข้างประตูนั่น แหละค่ะ แต่ถ้าเอาของติดไปลั้นลาเยอะก็ต้องบวกค่าเพิ่มไปอีกนิดหน่อย
3. ต่อจากนั้นก็เช็กน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก
4. ดูน้ำฉีดกระจกสำหรับที่ปัดน้ำฝนให้เต็ม
5. ดูระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ด้วย
6. น่าจะมีแผนที่แบบละเอียดๆ ติดรถกันเหนียวสักชุดก็ดีค่ะ
7. อันสุดท้ายก็เช็กหัวใจตัวเอง...ว่าพร้อมจะลุยหรือยัง
ที่มา : http://travel.kapook.com/view16473.html
ขับรถท่องเที่ยวหน้าหนาว...อย่างปลอดภัย
ปภ.แนะขับรถท่องเที่ยวหน้าหนาวอย่างปลอดภัย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัย แนะขับรถเที่ยวเขาช่วงหน้าหนาวอย่างปลอดภัย เลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับระดับความเร็ว ความชัน และความโค้งของเขา สังเกตป้ายบอกทาง ป้ายเตือนริมข้างทาง จะได้วางแผนการขับขี่อย่างเหมาะสม ไม่ขับรถเร็ว ไม่เหยียบเบรค หรือหยุดรถกะทันหัน ห้ามปล่อยเกียร์ว่างขณะลงจากเขา กรณีหมอกลงจัด ให้เปิดไฟหน้ารถ ไฟตัดหมอก
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า เดือนธันวาคมมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ประกอบกับตรงกับช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวชมธรรมชาติของขุนเขา อีกทั้งเส้นทางบนภูเขามักคดเคี้ยว เป็นทางโค้งลาดชัน อีกทั้งมีหมอกปกคลุมเส้นทาง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอแนะวิธีขับรถท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาวอย่างปลอดภัย ดังนี้
การใช้เกียร์
เลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับระดับความเร็ว ความชัน และความโค้งของเขา หากเป็นเกียร์ธรรมดา ให้ใช้เกียร์ต่ำ (เกียร์ 1 – 2) ส่วนเกียร์อัตโนมัติให้ใช้เกียร์ 2 ขณะขับขึ้นลงเขา และใช้เกียร์ D เมื่อวิ่งบนทางราบ
การขับรถ
หมั่นสังเกตป้ายบอกทาง ป้ายเตือนริมข้างทาง จะได้วางแผนการขับขี่และใช้ความเร็วอย่างเหมาะสม ห้ามขับรถด้วยความเร็วสูง ห้ามเหยียบเบรคหรือหยุดรถกะทันหัน เพราะจะทำให้รถเสียการทรงตัวไถลลงข้างทางได้ ห้ามปล่อยเกียร์ว่างขณะขับรถลงจากเขา จะทำให้รถไหลอย่างรวดเร็ว และหากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะไม่สามารถหยุดรถได้ทัน รวมถึงจอดพักรถเป็นระยะ เพื่อป้องกันเบรคไหม้หรือเบรคแตก ทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
การเข้าโค้ง
เพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ จับพวงมาลัยรถให้มั่น ชะลอความเร็วก่อนเข้าโค้ง พร้อมบีบแตรหรือให้สัญญาณไฟเตือนรถที่วิ่งสวนทางมา พยายามขับรถในช่องทางของตนเอง ห้ามแซงบริเวณทางโค้ง ไม่ปลดเกียร์ว่าง ไม่เหยียบคลัทซ์ และเบรคกะทันหัน เพราะจะทำให้เกิดแรงเหวี่ยง จนรถเสียหลักหลุดออกนอกเส้นทาง
กรณีหมอกลงจัด
เปิดไฟหน้ารถ ไฟตัดหมอก ขับรถให้ช้ากว่าปกติ ไม่ขับชิดคันหน้า ไม่แซง ไม่เปลี่ยนช่องทางหรือหยุดรถในระยะกระชั้นชิด ไม่เปิดใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน หากมองไม่เห็นเส้นทาง ให้จอดรถพ้นเส้นทางเดินรถหรือบริเวณที่ปลอดภัย รอจนหมอกเบาบางลงค่อยขับรถต่อ กรณีมีละอองฝ้าเกาะตามกระจกรถ ให้เปิดที่ปัดน้ำฝน หรือใช้ผ้าแห้งเช็ด ปรับลดอุณหภูมิภายในรถ เปิดกระจกหน้าต่างรถไว้เล็กน้อย จะช่วยไล่ละอองน้ำที่เกาะตามกระจกรถ
ที่มา : http://travel.kapook.com/view19610.html
วิธีป้องกันอันตราย จากการเล่นน้ำตกและล่องแก่ง
น้ำตก
ปภ. แนะวิธีป้องกันอันตรายจากการเล่นน้ำตกและล่องแก่ง (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
ใน ช่วงฤดูฝน นอกจากนักท่องเที่ยวจะนิยมเดินทางไปเที่ยวป่าเพื่อชมความงามของผืนป่าแล้ว กิจกรรมอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมเช่นกัน ได้แก่ การเล่นน้ำตก และ การล่องแก่ง เพราะเป็นช่วงที่ผืนป่ามีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด และมีปริมาณน้ำมากเพียงพอที่จะทำกิจกรรมดังกล่าวได้
แต่ขณะเดียวกันช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดน้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม นักท่องเที่ยวจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเล่นน้ำตกและล่องแก่ง ช่วงฤดูฝนเป็นพิเศษ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ขอแนะวิธีเล่นน้ำตกและล่องแก่งอย่างปลอดภัย ดังนี้...
การเล่นน้ำตก
ก่อนเล่นน้ำตก
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว เช่น เส้นทางการเดินทาง สภาพน้ำตก โดยเลือกเที่ยวน้ำตกที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยและมีระบบรักษา ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน รวมถึงสภาพพื้นที่และสภาพอากาศ โดยสามารถสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวและกรมอุตุนิยมวิทยา อีกทั้งปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเคร่งครัด
ขณะเล่นน้ำตก
- ไม่ลงเล่นน้ำในเขตหวงห้ามอย่างเด็ดขาด เพราะอาจได้รับอันตรายจากน้ำวนหรือกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกราก
- ไม่ปีนป่ายขึ้นไปตามหน้าผา น้ำตกหรือบริเวณที่เปียกลื่น
- ไม่เล่นหยอกล้อบริเวณพื้นที่อันตราย เช่น แอ่งน้ำวน น้ำลึกหรือที่ลาดชันก่อนถึงผาน้ำตก เพราะอาจพลัดตกจนได้รับบาดเจ็บ
- ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกน้ำหรืออยู่ในน้ำที่เย็นนานเกินไป เพราะอาจเป็นตะคริวจมน้ำเสียชีวิต
- ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะหากพลัดตกลงน้ำจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งขวดหรือแก้วน้ำที่แตก จะเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยวรายอื่นด้วย
- หมั่นสังเกตลักษณะของสายน้ำในน้ำตก หากพบว่าระดับน้ำสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว น้ำเปลี่ยนสี และมีเสียงดังผิดปกติ ให้รีบขึ้นจากน้ำและไปยังพื้นที่ปลอดภัยทันที เพราะอาจเกิดน้ำป่าไหลหลากขึ้นได้
ล่องแก่ง
การล่องแก่ง
ก่อนล่องแก่ง
ควรตรวจสอบข้อมูลสถานที่ล่องแก่งจากเจ้าหน้าที่อุทยาน และสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อจะได้วางแผนการล่องแก่งได้อย่างเหมาะสม ศึกษาข้อปฏิบัติในการเล่นและข้อตกลงต่างๆ อย่างละเอียด เช่น การประกันภัย เครื่องมือและอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ตลอดจนศึกษาลักษณะการไหลของน้ำ ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่ แบบแก่ง น้ำจะไหลเร็วและแรง กับแบบแอ่ง น้ำจะไหลช้าแต่มีความลึก และศึกษาเส้นทางลำน้ำและกระแสน้ำ อีกทั้งฝึกซ้อมการพายเรือ การถ่อเรือและการนั่งทรงตัวในเรือให้ชำนาญ สวมใส่เสื้อผ้าและรองเท้าแบบลำลอง เช่น กางเกงขาสั้น เนื้อผ้าไม่อุ้มน้ำ แห้งง่าย รองเท้าที่มีสายรัดข้อเท้า และสวมหมวกนิรภัยและเสื้อชูชีพให้เรียบร้อยก่อนลงเรือ
ขณะล่องแก่ง
- ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด
- หลีกเลี่ยงการล่องแก่งในบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลแรงและลึก เนื่องจากหินใต้น้ำและผิวน้ำจะทำให้เกิดคลื่นน้อยใหญ่ และม้วนเป็นวงอย่างแรงจนทำให้เรือล่มได้
- ไม่เล่นล่องแก่งบริเวณที่มีน้ำไหลตกจากที่สูงและไม่พายเรือเข้าไปบริเวณใต้ ต้นไม้ที่มีลักษณะรากลอย เพราะจะยิ่งเพิ่มอันตรายให้กับผู้เล่นมากขึ้น
- กรณีที่พลัดตกจากเรือ ให้ว่ายน้ำเข้าหาเรือหรือฝั่งโดยเร็วที่สุด ถ้าว่ายน้ำไม่เป็น ให้พยายามลอยตัวเหนือน้ำในท่านอนหงาย ยกขาทั้งสองข้างขึ้น เสื้อชูชีพจะช่วยพยุงตัวให้ลอยขึ้นจากน้ำ หากกระแสน้ำไหลรุนแรง ให้ใช้ไม้พายยันเพื่อชะลอความเร็ว และป้องกันการกระแทกกับแก่งหินบริเวณนั้น เพื่อให้การเล่นน้ำตกและล่องแก่งเป็นไปอย่างปลอดภัย
- นักท่องเที่ยวควรเตรียมความพร้อมด้วยการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแหล่งท่อง เที่ยวและสภาพอากาศ ลักษณะของสายน้ำอย่างละเอียด เพื่อจะได้วางแผนการท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม หากพบสิ่งผิดปกติของกระแสน้ำให้รีบขึ้นจากน้ำและไปยังพื้นที่ปลอดภัยในทันที
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายจากการท่องเทียวน้ำตกและล่องแก่งที่อาจเกิดขึ้นได้ ตลอดเวลา
ซื้อแพ็กเกจเที่ยว...แบบไม่โดนหลอก
ซื้อแพ็กเกจเที่ยว...แบบไม่โดนหลอก (Lisa)
เข้า หน้าร้อนวางแผนเกี่ยวกับสักหนึ่งยก แต่เลือกแพ็กเกจแบบไหนดีที่จะคุ้มค่าเงินในกระเป๋ามากที่สุด และไม่ต้องเศร้าเพราะถูกทัวร์เอาเปรียบ
แพ็กเกจกับเงินในกระเป๋า
แค่เลือกขนดาแพ็กเกจให้เหมาะสมกับตัวเองเท่านั้นยังไม่พอ เพราะอย่าลืมรวมค่า Pocket Money ที่คุณจะต้องเตรียมไว้ไปช้อปปิ้งด้วย ที่สำคัญควรนำเงินติดตัวไปบ้างเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย กันไว้เป็นเงินฉุกเฉินเผื่อตกรถตกเรือจะได้มีเงินตรงนี้ไว้เป็นตัวช่วย
รายจ่ายแฝง
แพ็กเกจส่วนใหญ่มักแฝงด้วยค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% และภาษีหัก ณ ที่จ่ายอีก 3% และบางแพ็กเกจไม่รวมค่าบัตรหรือค่าธรรมเนียมในการผ่านด่านต่าง ๆ ดังนั้น บวกลบคูณหารดี ๆ ถามรายละเอียดและหาข้อมูลให้แน่นอนก่อนที่จะซื้อแพ็กเกจ
โฆษณาเกินจริง
บอกว่าจะพาไปตรงนั้นตรงนี้ กินอาหารพื้นเมืองชั้นดีแหล่งช้อปปิ้งงามเลิศ แต่พอถึงเวลาจริง ๆ ไม่ได้ไปอย่างในรูปที่โฆษณา คุณสามารถคุยกับเขาได้ตรง ๆ เลยว่าแล้วจะจ่ายเงินคืนให้คุณเท่าไร อย่าลืมทวง ซึ่งมักจะได้เงินคืนหลังจากที่เรากลับมาแล้ว เขาไม่อยากเสียชื่อหรอก...เชื่อสิ
ระวังคำว่า...เทียบเท่า
โรงแรมห้าดาวหรือเทียบเท่า คำคำนี้กำกวมเหลือเกินควรถามว่าถ้าไม่ใช่โรงแรมนี้จะเป็นโรงแรมไหน เราจะได้เข้าไปดูสถานที่ในอินเทอร์เน็ตล่วงหน้า และถ้าไม่ใช่โรงแรมระดับเดียวกันจะทดแทนอย่างไร เช่น บางแห่งจะทดแทนด้วยการเลี้ยงอาหารในภัตตาคารที่ดีกว่าเดิม
เลือกทัวร์มาตรฐาน
ควรเลือกบริษัททัวร์ที่ค่อนข้างมีชื่อเสียง หรือผ่านคำบอกเล่าจากเพื่อน ๆ มาแล้ว เพราะส่วนใหญ่เราต้องสำรองที่นั่งด้วยการโอนเงินล่วงหน้าก่อนครึ่งหนึ่งแล้ว ค่อยจ่ายสมทบเต็มราคาเมื่อถึงวันไป เก็บใบเสร็จโอนเงินไว้ก่อน เพราะหากโดนเชิดเงิน เพราะไม่มีหลักฐานยืนยันแล้วล่ะก็ จะเซ็งไม่น้อยเชียวล่ะ
ที่มา : http://travel.kapook.com/view6441.html
เรื่องไม่เล็ก เคล็ดไม่ลับสำหรับซัมเมอร์
เรื่องไม่เล็ก-เคล็ดไม่ลับสำหรับ "เมษาฮาวาย" (คู่หูเดินทาง)
จะ(บรร)เจิด ไปมั้ยคุณขา..ถ้าซัมเมอร์นี้สะระแหน่จะเป็นฝ่ายเอ่ยปากชวน "หนุ่มกิมจิ" ที่รู้จักกันมาสักพักใน Facebook ไปละเสียดฟองเบียร์ เอ้ย...ฟองคลื่นที่ริมขายหาดขาวนวลยวนตาบนเกาะเสม็ดโน่น อ๊าย...พูดแล้วก็จั๊กกะเดียมหัวใจ ไม่เอาล่ะ ขอเก็บพ่อหนุ่มกินจิคนนั้นเอาไว้เฉพาะในยามฝันก็พอ เดี๋ยวพ่อช๊ะมีตัวแสบแอบจับได้ สะระแหน่จะอ่วมอรทัยกลายเป็นผักชีเน่าไปเสียก่อน เอ้า...เรามาพูดถึงวิธีเตรียมตัวเตรียมใจไปเที่ยวทะเลในหน้าร้อนนี้กันดี กว่า
สำหรับคนขี้เมา(เรือ) มีวิธีรับมือ ดังนี้ …
มองหา...หยูกยาประเภทยาหอม หรือยาไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) มาเตรียมกินไว้ก่อนเดินทาง
มอง หา...ทำเลที่นั่งบริเวณริมหน้าต่างให้ลมพัดเย็น ๆ มองเห็นวิวไกล ๆ ความเพลิดพลินดังว่าจะช่วยให้ท่านลืมเลือนอาการไม่สบายได้ชั่วขณะ
มอง หา...ที่งีบสบาย ๆ เท่าที่จะหาได้สักตื่น เมื่อเริ่มรู้สึกว่าอาการเมาเรือหรือคลื่นเหียนกำลังโบกมือทักทาย และควรจิบน้ำทีละน้อยๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ บางครั้งยังอาจช่วยบรรเทาอาการอยากอาเจียนได้
เปลวแดดแผดเผา
ความ ร้อนของแสงแดดนอกจากจะทำให้ผิวพรรณคล้ำ หรือรู้สึกปวดแสบร้อนจากการถูกแผดเผาแล้ว ยังอาจส่งผลให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย อาทิ เป็นลมแดด, ตะคริว, อ่อนเพลียจากความร้อน และความร้อนสูงรุนแรง (heat stroke) เป็นต้น วิธีป้องกันอันตรายจากแสงแดดคือ
หลีกเลี่ยงการตากแดดจัดจ้านตลอดทั้งวัน เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอากาศเป็นลมแดดและผิวหนังแสบไหม้ได้
ควร ทาครีมกันแดดที่มีตัวยากันแดดอย่างน้อย SPF 15 ขึ้นไป และเป็นชนิดกนน้ำ โดยทาให้ทั่วทั้งใบหน้า คอ หลัง ขา โดยเฉพาะบริเวณที่ไวต่อแสง หากมีอาการเป็นลมแดดหรือหมดสติ ให้รีบพาผู้ป่วยเข้าไปที่ร่ม ที่อากาศถ่ายเทสะดวก คลายชุดที่ใส่ให้หลวม และทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวจนอุณหภูมิลดต่ำลง
หาก ต้องตากแดดเป็นเวลานานๆ ร่างกายอาจสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ควรหลีกเลี่ยงการลงสระว่ายน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำหรืออาบน้ำเย็นทันที เพราะนั่นอาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อเกร็งหรือเป็นตะคริวได้
เป็นตะคริว
แม้คนจำนวนไม่น้อยจะว่ายน้ำเป็นหรือว่ายน้ำเก่ง แต่อุบัติเหตุและอันตรายก็สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ เพื่อความปลอดภัยเรามีคำแนะนำ ดังนี้ …
ก่อนว่ายน้ำควรทำการบริหารร่างกาย เพื่อเตรียมความพร้อมก่อน ประมาณ 10-15 นาที
หากเผชิญกับอาการเป็นตะคริว ให้พยายามประคองตัวให้ขึ้นมาบนฝั่ง จากนั้นรีบหาน้ำเกลือมาดื่ม (น้ำ 1 ลิตร ผสมเกลือ 1 ช้อนชา)
ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น ๆ หรือมีกระเป๋าน้ำร้อนห่อด้วยผ้าขนหนู วางประคบบริเวณกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว
พิษแมงกะพรุน
อาจทำให้มีอาการผื่นคัน หรือทำให้ปวดแสบปวดร้อนคล้ายอาการน้ำร้อนลวกได้ การรักษาคือเมื่อสัมผัสโดนผิวหนังให้รีบชะล้างด้วยน้ำทันที เพื่อล้างเอาพิษออก และทาด้วยยาประเภทสเตียรอยด์ครีม หรือลองมองหา “ผักบุ้งทะเล” ที่ชอบขึ้นตามริมชายหาดมาตำ และนำมาทาบริเวณที่เป็นแผลแต่ไม่ต้องขยี้ จะช่วยถอนพิษได้ เนื่องจากผักบุ้งทะเลมีสรรพคุณเป็นยา ลดการอักเสบจากพิษของแมงกะพรุน แก้แผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกได้
เมษาฮาวายนี้สะระแหน่ขอให้ชาว "คู่หูเดินทาง"เที่ยวทะเลกันด้วย ความสนุกสุโขสโมสรนะคะ เค็ม ๆ รวย ๆ ด้วยนิ อิอิ
ที่มา : http://travel.kapook.com/view12361.html
5 วิธีเพิ่มความสุข จากการเดินทาง
5 วิธีเพิ่มความสุขและความทรงจำ (ดีๆ) จากการเดินทางท่องเที่ยว (คู่หูเดินทาง)
1. ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำหรือกฎระเบียบของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด
2. ไม่ควรทำลายธรรมชาติหรือระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติด้วยการทิ้งขยะ เด็ดดอกไม้ ขว้างปาทำลาย หรือส่งเสียงดังเดินความจำเป็น
3. เตรียมกล้องถ่ายรูป หมวก แว่นตาและครีมกันแดดให้ครบถ้วน
4. ควรมีสมุดหรืออุปกรณ์สำหรับจดบันทึกความทรงจำดี ๆ ที่ได้จากการเดินทาง
5. แสตมป์และปากกา สำหรับเขียนเล่าเรื่องราวสั้น ๆ ที่ประทับใจลงในโปสการ์ดสวย ๆ กลับมาให้คนที่คุณรักเป็นที่ระลึก
วิธีง่าย ๆ แค่นี้ก็ทำให้เพื่อน ๆ เก็บเกี่ยวความสุขเล็ก ๆ จากการท่องเที่ยวได้แล้วล่ะค่ะ
ที่มา : http://travel.kapook.com/view12504.html
เที่ยวคนเดียวให้ปลอดภัย
เที่ยวคนเดียวให้ปลอดภัย (ลิซ่า)
เมื่อมีวันหยุดยาว ๆ หลาย ๆ วันติดต่อกันแล้ว สาวคนไหนต้องการแบ็กแพ็กไปต่างจังหวัดคนเดียว หรือจะบินไปประเทศใกล้ ๆ ควรระวังตัวดังนี้นะคะ
อย่ารับของจากคนแปลกหน้า ไม่ว่าจะอยู่ในสถานีขนส่งหรือสนามบิน เพราะเขาอาจพาชื่อฝากของที่ผิดกฎหมายไว้ในกระเป๋าเดินทางของเราได้
แต่งกายให้เหมาะสม อย่าโป๊และอย่าสั้นจนเกินไป
เกาะกลุ่มกันไว้ แม้จะเดินทางคนเดียว แต่พยายามมองหากลุ่มผู้หญิง และเกาะกลุ่มกับพวกเขาไว้ เพื่อไม่ให้เป็นเป้าสายตาได้ง่าย
เดินเหินอย่างมั่นใจ เพราะถ้าทำท่าทางละล้าละลัง คนร้ายอาจสังเกตได้ว่าเราเป็นคนแปลกถิ่น และควรหลีกเลี่ยงการไปที่เปลี่ยวในยามวิกาล
อย่าเก็บของที่มีค่าไว้ในกระเป๋าเดียวกัน แต่ควรแบ่งเก็บไว้หลาย ๆ กระเป๋า
ระวังพวกถามทางแล้วทำอะไรหกใส่เสื้อผ้าเรา เพราะส่วนใหญ่มิจฉาชีพมักมีเล่ห์กลแบบนี้
ที่มา : http://travel.kapook.com/view6679.html
เมื่อรถมีปัญหายามขับรถเที่ยว
เมื่อรถมีปัญหายามขับรถเที่ยว (Lisa)
ถ้าชอบขับรถเที่ยวป่าเที่ยวเขา โดยเฉพาะยามหน้าหนาวอย่างนี้ ก็ต้องเตรียมตัวรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าไว้ให้ดี
เครื่องร้อน มาจากหลายสาเหตุต้องหาสาเหตุให้ได้ก่อนแล้วจึงแก้ไขตรงจุดนั้น เช่น รังผึ้งสกปรกมาก จากการไปลุยโคลนมาแล้วโคลนเข้าไปอุดตันที่รังผึ้ง หรือไปลุยน้ำที่มีตะไคร่น้ำมากแล้วเข้าไปอุดตันที่รังผึ้งให้จอดรถแล้วทำ ความสะอาดรังผึ้งหรือถ้ารถติดเทอร์โบมาแล้วมีปัญหา ก็ให้คุณถอดท่อชุดเทอร์โบที่จะเข้าห้องเครื่องออก แล้วเอาถุงมือหนังตัดออก นำมาอุดปลายท่อแล้วรัดด้วยเข็มขัดหรือลวดให้แน่น
ท่อยางท่อน้ำแตกรั่ว ใช้เทปผ้าพันหลาย ๆ รอบจนคิดว่าแข็งแรงพอรับแรงดันของน้ำได้ แล้วใช้ลวดรัดให้แน่นอีกที หรือถ้ามีเข็มขัดรัดก็ให้ใช้เข็มขัดรัดให้แน่น
หม้อน้ำรั่ว ถ้ามีน้ำยาอุดหม้อน้ำติดรถไว้ก็นำออกมาใช้ได้เลย แต่ควรซื้อติดรถไว้ ราคาไม่ถึง 50 บาท หากไม่มีก็ต้องหาตำแหน่งรอยรั่วของหม้อน้ำให้ได้ ถ้ารูรั่วไม่ใหญ่มาก ลองเหลาไม้เล็ก ๆ ยัดรูไว้แล้วใช้สบู่อัดไว้อีกที เพื่อชะลอการไหลของน้ำขับไปก็หยุดเติมน้ำไปด้วยก็แล้วกัน
น้ำมันเครื่องหมด ถ้าไม่มีน้ำมันเครื่องอะไหล่ก็ใช้น้ำมันพืชนี่แหละแทนได้ ขอให้มีอะไรหล่อลื่นสักอย่างดีกว่าไม่มีเลย และขณะขับอย่าเร่งเครื่องยนต์ให้รอบสูงมากนัก
ฟิวส์ขาด ถ้าไม่มีอะไหล่ก็ใช้สายไฟขนาดเล็ก ๆ ใส่แทนไปก่อน สำหรับคนสูบบุหรี่ก็ใช้กระดาษฟอยล์ในซองบุหรี่ไปก่อน
ถังน้ำมันรั่ว ถ้ารูรั่วขนาดเล็กให้ใช้สบู่อุด ถ้าพอจะวิ่งได้ก็ให้วิ่งต่อไป แต่ถ้ารูใหญ่มากให้เหลาไม้ที่อยู่ตามข้างทางแล้วตอกอัดเข้าไปเลย
ที่มา : http://travel.kapook.com/view7810.html
เทคนิคการขับรถขึ้นดอย
เทคนิคการขับรถขึ้นดอย (อสท)
คอลัมน์ : ช่างกลางแจ้ง
โดย : อภินันท์ บัวภักดี
ช่วง ต้นฤดูหนาวแบบนี้ เราก็ต้องเที่ยวตามภูตามดอย ทักษะการขับรถขึ้นลงในทางชันและคดเคี้ยวบนภูเขา จึงจำเป็นต้องงัดเอามาทบทวนปัดฝุ่นกันให้คุ้นเคย เอ้า ติดตามกันเลยแล้วกัน
การขับขึ้นที่สูงควรใช้ความเร็วแต่พอดี สำคัญที่สุดอย่าปล่อยเกียร์ว่างในช่วงลงเขา เพราะว่าจะไม่สามารถควบคุมความเร็วของรถได้ ตายอย่างเขียดแน่นอน
การใช้เกียร์ ให้ดูจากรอบเครื่องตามความเหมาะสมของความชัน ถ้าคิดจะเปลี่ยนเกียร์ให้ทำก่อนขึ้น เวลาลงที่ลาดชัดให้ระวังให้มาก สมาธิอยู่ที่ถนนและพวงมาลัย ให้แตะเบรกช่วยเพื่อลดความเร็วของรถ โดยแตะปล่อย แตะปล่อย อย่าแตะค้าง เพราะผ้าเบรกจะไหม้
การขับรถบนเขาต้องเจอกับทางโค้งอย่างแน่นอน หากเป็นโค้งที่มองไม่เห็น ก็ใช้สัญญาณแตร อย่าวิ่งจี้คันหน้า เวลาจะแซง อย่าแซงกระชั้นชิด ดูให้ดี ถ้าเห็นว่าข้างหน้าโล่ง ปลอดภัยแล้ว ค่อยกดคันเร่งส่งเลย
การขับรถบนทางโค้งต่อเนื่องรูปตัว s จงมองให้ไกล มองให้ลึก เมื่อแน่ใจว่าทางว่างไม่มีรถสวนมา ให้ถอนคันเร่งลงแล้วเสียบตัดโค้งในแนวการขับเป็นเส้นตรงที่สุด เพื่อลดอัตราการเหวี่ยงของตัวรถ แต่การขับลักษณะนี้ ถ้าไม่แน่ใจเส้นทางข้างหน้าหรือวิสัยทัศน์ไม่ดี ควรขับทางโค้งธรรมดา อยู่ในทางของเราเอง
ป้ายเตือนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ริมทางมีความสำคัญมาก จะบอกลักษณะทางข้างหน้าที่จะเจอ ควรใส่ใจดู และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
แนะวิธีเช่ารถเที่ยวอย่างปลอดภัย
แนะวิธีเช่ารถเที่ยวอย่างปลอดภัย
กระทรวง มหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะนำผู้ที่เช่ารถเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ ควรวางแผนก่อนการเดินทาง เลือกเช่ารถจากสถานบริการที่ได้มาตรฐาน พนักงานขับรถมีความพร้อมในการขับรถ มีความชำนาญเส้นทาง และประสบการณ์ในการขับรถเป็นอย่างดี รวมถึงรถที่เช่าต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะในระหว่างการเดินทางควรดูแลให้พนักงานขับรถปฏิบัติตามกฎจราจรอย่าง เคร่งครัดและหมั่นสังเกตกิริยาอาการของพนักงานขับรถตลอดเวลา เพื่อป้องกันการหลับในที่เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุร้ายแรง
นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า เทศกาลปีใหม่ 2553 มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน หลายครอบครัววางแผนเดินทางไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดและกลับภูมิลำเนาเป็น จำนวนมาก ทำให้ถนนทุกสายมีปริมาณรถหนาแน่น จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมากกว่าช่วงเวลาปกติ 3 - 4 เท่า ซึ่งส่วนใหญ่มักเลือกใช้บริการเช่ารถโดยสารสาธารณะ แต่หากเลือกรถเช่าที่ไม่ได้มาตรฐาน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้ง่าย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเช่ารถโดยสารสาธารณะท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่ นี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงขอแนะนำวิธีเช่ารถโดยสารอย่างปลอดภัย โดยผู้ติดต่อเช่ารถควรปฏิบัติ ดังนี้
ก่อนออก เดินทาง ควรศึกษาเส้นทางและวางแผนการเดินทางในเส้นทางที่ปลอดภัย เผื่อเวลาในการเดินทางถึงจุดหมายให้เพียงพอ จะได้ไม่ต้องเร่งพนักงานให้ขับรถเร็ว เพื่อทำเวลา รวมทั้งควรวางแผนออกเดินทางในช่วงเวลากลางวันจะปลอดภัยมากกว่าช่วงกลางคืน และช่วยป้องกันพนักงานขับรถมิให้มีอาการหลับในขณะขับรถ
ตรวจสอบพฤติกรรมของพนักงานขับรถ พนักงานขับรถควรนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการหลับในที่จะเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในช่วงก่อนและระหว่างการเดินทาง มีทักษะ ความชำนาญในการขับรถเป็นอย่างดี เพราะบ่อยครั้งที่มักพบว่าอุบัติเหตุทางถนนเกิดจากความไม่ชำนาญเส้นทาง และขาดประสบการณ์ในการขับรถทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ในกรณีที่เป็นการเดินทางระยะไกลมากกว่า 400 กิโลเมตร ควรกำชับให้เจ้าของรถ จัดพนักงานขับรถอย่างน้อย 2 คน เพื่อคอยผลัดเปลี่ยนในขณะเดินทาง
ตรวจ สอบสภาพรถ เจ้าของรถเช่าควรนำรถไปตรวจสอบสภาพให้พร้อมก่อนใช้งาน ทั้งระบบเบรก คลัทซ์ ยางรถยนต์ ระบบบังคับเลี้ยว และระบบควบคุมไฟฟ้า เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะการขับรถในเส้นทางลาดชันและระยะทางไกล ตลอดจนตรวจสอบและติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยประจำรถ เช่น ถังดับเพลิงเคมีแบบ มือถือ ค้อนทุบกระจกและประตูฉุกเฉิน ให้สามารถใช้งานได้ดี
ในระหว่างการเดินทาง ควรควบคุมให้พนักงานขับรถปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ไม่ขับรถเร็ว ไม่ตัดหน้ากระชั้นชิด หรือแซงอย่างกะทันหัน เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน รวมถึงหมั่นสังเกตกิริยาอาการของพนักงานขับรถให้อยู่ในสภาพพร้อมขับขี่ตลอด เวลา หากพบว่าพนักงานขับรถเหยียบเบรกบ่อย ๆ นั่งนิ่งนาน ๆ หรือมีอาการหาวบ่อย ควรสั่งให้หยุดจอดพักรถในบริเวณที่ปลอดภัย เพื่อพักผ่อนหรือเปลี่ยนให้ผู้อื่นขับแทน
สุด ท้ายนี้ หากประชาชนประสบอุบัติภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่ สามารถติดต่อแจ้งเหตุได้ทางสายด่วนสาธารณภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
เที่ยวทะเลไทย เตรียมไปให้พร้อม..
เที่ยวทะเลไทย เตรียมไปให้พร้อม (อสท.)
เมื่อจะเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ เราจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงสิ่งจำเป็นทั้งหลาย เพื่อให้การเดินทางเป็นไปด้วยความสุข ความประทับใจ และเพิ่มประสบการณ์ดี ๆ ให้กับชีวิต อย่างแรกต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมที่จะออกไปรับกับสิ่งใหม่ และเปิดใจให้กว้างเพื่อเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่จะเข้ามาในชีวิต ส่วนอุปกรณ์และสิ่งจำเป็นก็มีไม่มากนัก เปิดกระเป๋าและลองดูว่าคุณมีอุปกรณ์พร้อมแล้วหรือยัง …
ครีมกันแดด
หมวกปีกกว้าง
รองเท้าแตะ
กางเกงขาสั้น
เสื้อสวมใส่สบาย
ชุดว่ายน้ำ
แว่นกันแดด
ยาประจำตัว โดยฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรเตรียมยาประจำตัวและอุปกรณ์ปฐมพยาบาลไว้ให้พร้อม
กล้องถ่ายรูป สำหรับผั้ชื่นชอบการถ่ายภาพ คงจะไม่ลืมกล้องถ่ายภาพและอุปกรณืไว้บันทึกภาพสวย ๆ อย่างแน่นอน
เมื่ออุปกรณ์ประจำตัวพร้อม "ยานพาหนะ" ที่จะพาเราไปยังจุดหมาย ก็เป็นลำดับต่อไปที่ต้องเตรียมการให้พร้อม สำหรับผู้ที่ขับรถไปเอง ควรนำรถสุดรักของคุณเข้าไปตรวจสอบที่ศูนย์บริการ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองอากาศ เพื่อความปลอดภัยในทุกสภาพการเดินทาง หากจะเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เราต้องจัดตารางเดินทางให้สอดคล้องกับโปรแกรมท่องเที่ยว โดยตรวจสอบตารางเวลาการเดินรถโดยสาร รถไฟ หรือเครื่องบิน ทั้งไปและกลับ หากเดินทางต่อไปเกาะ เราควรตรวจสอบเวลาเรือข้ามฟาก เพื่อให้พอดีกับเวลา จะได้ไม่พลาดเที่ยวเรือ
จุดหมายสุดท้ายของเราคือ "ที่พักแรม" แม้ ที่พักค้างคืนจะมีมากมาย หรือการที่หัวใจนักเดินทางของคุณบอกว่า "ค่ำไหนนอนนั่น" แต่การเลือกสถานที่พักแรมก็เป็นเรื่องจำเป้นมากที่สุดในการพักผ่อน หลังจากเดินทางมายาวไกล และเตรียมแรงให้พร้อมสำหรับวันต่อไป เราจึงต้องสำรวจให้ดี โดยเฉพาะช่วงวันหยุดยาวหรือเทศกาลท่องเที่ยว หรือหากเป็นที่พักริมหาดที่ต้องจองล่วงหน้า ในช่วงเวลาดี ๆ แบบนี้ นักท่องเที่ยวก็จะมากตามไปด้วย
พอทุกอย่างพร้อม ใจพร้อม ก็แบกกระเป๋าออกเดินทางกัน...
10 วิธี ตั้งแคมป์ ลดโลกร้อน...
การตั้งแคมป์เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นกิจกรรมที่สามารถสัมผัสกับธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการตั้งแคมป์นอกจากจะให้เกิดความสนุกแล้ว ยังจะต้องช่วยลดโลกร้อนได้ด้วย วันนี้กระปุกดอทคอมขอเสนอ 10 วิธี การตั้งแคมป์ดี ๆ ที่ช่วยลดความร้อนให้กับโลกได้ จะมีวิธีการใดบ้างนั้น มาดูกันเลย
1. เตรียมอุปกรณ์ในการตั้งแคมป์ให้พร้อม
ไม่ว่าจะเป็นเต็นท์ กระติกน้ำ เสื้อผ้า เข็มทิศ และสิ่งของที่จำเป็นต่าง ๆ ควรจะมีการเตรียมเอาไว้ให้พร้อมก่อนที่จะออกเดินทาง สำรวจดูว่ายังสามารถใช้การได้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยและพร้อมใช้ในทันทีที่มีการตั้งแคมป์
2. อะไรที่ไม่จำเป็น ก็ไม่ต้องเอาไป
คุณจะไปตั้งแคมป์เพื่อพักผ่อนและสัมผัสกับธรรมชาติ ดังนั้น อุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างเช่น โน้ตบุ๊ก เครื่องเล่นเพลงต่าง ๆ ก็ไม่ควรที่จะนำไปด้วย เพราะนอกจากจะไม่ได้ใช้งานแล้ว ยังทำให้เป็นการเพิ่มน้ำหนักของกระเป๋าที่มากเกินเหตุ
3. ตั้งแคมป์ในสถานที่ที่ปลอดภัย
ลดระยะเวลาและการใช้พลังงาน ด้วยการตั้งแคมป์ให้ใกล้กับส่วนที่เป็นอุทยานแห่งชาติหรือหมู่บ้าน เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินกับคุณ ก็สามารถขอความช่วยเหลือได้โดยง่าย ขณะเดียวกัน ยังเป็นการรับประกันถึงความปลอดภัยของสถานที่ ได้ดีในระดับหนึ่งอีกด้วย
4. ทำตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด
ในระหว่างการเดินทางไปตั้งแคมป์ ตามเส้นทางต่าง ๆ ถือว่ามีความอันตรายทั้งสิ้น ดังนั้น คุณจึงควรที่จะทำตามป้ายคำเตือนต่าง ๆ ที่ติดอยู่ตามระหว่างทางอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการหลงทาง หรือทำในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ
5. เลือกทำเลที่จะตั้งแคมป์ให้ดี
สอบถามข้อมูลของสถานที่ที่จะตั้งแคมป์จากเจ้าหน้าที่ หรือชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้น ว่าปลอดภัยดีหรือไม่ ที่สำคัญควรกางเต็นท์บนที่ราบเรียบ ปราศจากของแหลมคม เช่น ตอไม้ที่ตัดไว้ไม่หมด หรือก้อนหินที่มีมุมแหลม เพราะนอกจากจะนอนไม่เป็นสุขแล้ว อาจจะทำให้พื้นเต็นท์เกิดความเสียหายฉีกขาดได้
6. ก่อกองไฟอย่างปลอดภัย
กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการตั้งแคมป์ก็คือ การก่อกองไฟ เพราะการก่อกองไฟมีประโยชน์ต่อการหุงหาอาหาร ป้องกันอันตรายจากสัตว์บางชนิด และยังให้ความอบอุ่นในยามค่ำคืนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น สถานที่ก่อกองไฟจึงควรเป็นบริเวณพื้นที่แห้ง อับลม เปิดโล่ง ปราศจากใบไม้และกิ่งไม้ ซึ่งจะเป็นต้นเหตุให้ไฟลุกลามออกนอกกอง และควรที่จะดับกองไฟนั้นก่อนที่คุณจะเข้านอน และเก็บเต็นท์กลับบ้าน
7. ใช้ภาชนะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ไม่ว่าจะเป็นแก้วน้ำ จาน ชาม หรือภาชนะอะไรก็แล้วแต่ ที่นำมาใช้ในการตั้งแคมป์ ก็ควรจะเป็นภาชนะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพราะนอกจากจะทำให้ประหยัดแล้ว ยังทำให้เกิดขยะน้อยชิ้นลงอีกด้วย
8. จัดการธุระส่วนตัวให้เป็นที่เป็นทาง
ตามธรรมชาติของมนุษย์ จะมีการขับถ่ายของเสียทั้งถ่ายหนักและเบาออกจากร่างกายอยู่ทุกวัน ดังนั้น จึงควรที่จะจัดการทำธุระส่วนนี้ให้เป็นที่เป็นทาง เพื่อให้ถูกต้องตามสุขลักษณะและไม่เป็นการทำลายธรรมชาติ
9. เลือกสารพัดของใช้ในห้องน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ไม่ว่าจะเป็นแชมพู สบู่ ครีมโกนหนวด เหล่านี้ถือเป็นสิ่งของที่ไม่จำเป็นที่ไม่ควรนำติดตัวมาด้วย ดังนั้น หากคุณต้องการใช้สิ่งของเหล่านี้ ก็ควรเลือกของที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติจะดีที่สุด
10. เก็บขยะไปทิ้งให้ถูกที่ถูกทาง
ห่ออาหารพลาสติก กระป๋องอาหาร เศษกระดาษต่าง ๆ ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ขอให้นำกลับไปทิ้งในถังขยะด้วย ห้ามทิ้งขว้างอย่างไร้สามัญสำนึก เพราะไม่อย่างงั้นแล้วจะเป็นการทำลายความสวยงาม และสิ่งแวดล้อมของธรรมชาติอย่างรุนแรงเลยทีเดียว
ได้ สัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิดแบบนี้แล้ว ทางกระปุกดอทคอมก็ขอให้คุณเพลิดเพลินกับการตั้งแคมป์อย่างเต็มที่ ที่สำคัญอย่าลืมทำตามที่เราได้แนะนำคุณด้วย เพื่อให้โลกใบนี้น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม
เที่ยวแบบครอบครัว เตรียมตัวอย่างไร ?
เที่ยวแบบครอบครัว เตรียมตัวอย่างไร (Momypedia)
โดย: กองบรรณาธิการ
จะเที่ยวทั้งทีต้องเที่ยวให้สนุกและได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน ขอแนะวิธีเที่ยวให้สนุกสุด ๆ ไร้กังวลมาบอกกันค่ะ
พอมีวันหยุดยาว ๆ ทีไร ใจมันเต้นตึ้กตั้ก เกิดอาการคึกคักอยู่บ้านไม่ติดค่ะ ทั้งพ่อแม่ลูก ขอบอกว่ายิ่งลูกโตยิ่งเที่ยวสนุก เพราะเขาช่วยเหลือตัวเองได้ดีแล้ว แถมยังสามารถเป็นเรี่ยวแรงช่วยพ่อแม่ จัดเตรียมข้าวของและช่วยเหลือเราในเรื่องต่าง ๆ ได้ดีทีเดียวค่ะ
เที่ยวอย่างไรให้ทั้ง ...สนุกและได้เรียนรู้
ทีนี้จะเที่ยวให้สนุก ก็ต้องมีการเตรียมตัวกันสักหน่อย เริ่มต้นด้วยการหาข้อมูลกันก่อนค่ะ แหล่งที่คุณจะหาข้อมูลเส้นทางและสถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่
ยุคนี้อินเตอร์เน็ตย่อโลกเข้ามาใกล้คุณค่ะ เข้า web ที่เป็น search engine ทั้งหลาย เช่น เว็บ google, เว็บกระปุก,เว็บพันทิป หรือ เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือให้ลูก ๆ เขาช่วยสิคะ เพราะเขาชำนาญในการใช้อินเทอร์เนตกว่าเรา ช่วยกันดูกับลูก ช่วยกันวางแผน เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้เป็นอย่างดี
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โทร. 1672
หนังสือ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว หาซื้อตามร้านหนังสือทั่วไป หรือแผ่นพับ โบรชัวร์ คู่มือเล่มเล็ก ขอได้จากททท. และศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยว
ถามเพื่อน ๆ บางทีเรามองข้ามการหาข้อมูลจากคนใกล้ตัวไป (ให้รายละเอียดได้ดีกว่าการท่องเที่ยวฯซะอีก) หรือเข้าร่วม
ชมรมต่าง ๆ เช่น ชมรมจักรยานแห่งประเทศไทย ฯลฯ
เตรียมเส้นทาง
การ เตรียมศึกษาเส้นทางไว้ก่อนล่วงหน้า จะทำให้ไม่เสียเวลาหลง หรือหากเจอทางรถติด ก็อาจเลี่ยงไปใช้ทางอื่นได้(เพราะรู้เส้นทางล่วงหน้า) และทำให้รู้ระยะเวลาในการเดินทางไปแต่ละที่
หาซื้อแผนที่ติดรถ ทั้งแผนที่กรุงเทพ แผนที่ประเทศไทยโดยรวม แผนที่เส้นทางหลวง แผนที่จังหวัดที่จะไป
ศึกษา แผนที่ให้ดีก่อน ขอบอกว่าคนไม่เคยดูแผนที่มาก่อนจะดูยาก และอาจเป็นเหตุให้คนขับกับเนวิเกเตอร์ทะเลาะกันเปล่า ๆ อาจจะใช้ marker ขีดเส้นทางและสถานที่ที่จะไปไว้
เตรียมเวลา
การจัดการเรื่องเวลามีส่วนสำคัญมากในการเที่ยว บางคนบอกว่า ทำงานยุ่งมากไม่มีเวลาไปเที่ยวกับลูกหรอก แต่จริง ๆ ถ้าเราจัดการเรื่องเวลาดี ๆ เราก็สามารถไปเที่ยวได้ และจะทำให้เที่ยวได้อย่างคุ้มค่า สนุก และไม่เหนื่อยเกินไปอย่างแรก ดูเวลาของคนทั้งครอบครัวก่อนว่า เหมาะจะไปเที่ยวแบบไหน เที่ยววันเดียว...ไปเช้าเย็นกลับ หรือค้างคืน (ในเรื่องนี้งบประมาณก็สำคัญค่ะ) สำหรับคนที่ busy มาก ๆ เลือกแบบไปเช้าเย็นกลับก็ดีค่ะ
ต้อง ศึกษาก่อนว่า การเดินทางไปแต่ละที่ใช้เวลาเท่าไร และควรจะเที่ยวตรงนั้นนานเท่าใด โดยเฉพาะถ้าเป็นการเที่ยวแบบวันเดียวจบ เผื่อการจราจรติดขัดด้วย
ถ้า เป็นไปได้ การเที่ยวในวันธรรมดาที่ไม่ใช่วันหยุด หรือเทศกาล จะเที่ยวได้สบาย ๆ รถไม่ติด ไม่ต้องเบียดเสียดกันเที่ยว(ขอบอกว่าหมดอารมณ์จริง ๆ )
ออกเดินทางแต่เช้าตรู่ ไม่เกิน 7 โมงเช้า ได้สูดอากาศเช้าปลอดโปร่ง ได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้น แดดรำไร สบายใจสบายตาค่ะ
เตรียมพร้อมความปลอดภัย
ความปลอดภัยในการเดินทางเป็นข้อคำนึงถึงอันดับหนึ่งค่ะ ซึ่งได้แก่
ตรวจเช็ครถยนต์ที่ใช้เดินทาง อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย เช่น เบรค สภาพยาง เข็มขัดนิรภัย สำหรับเด็กเล็กต้องมีเบาะนั่งนิรภัย ฯลฯ
ตรวจเช็คสถานที่ที่จะไปและเส้นทางว่าเสี่ยงต่อความปลอดภัยบ้างไหม เช่น ถนนหนทางเปลี่ยว สภาพถนนไม่ดี เป็นต้น
สุขภาพ ของสมาชิกที่ร่วมเดินทาง มีโรคประจำตัวหรือไม่ ต้องเตรียมยาด้วย หรือเด็กเล็กต้องเตรียมยาฉุกเฉิน เช่น ยาลดไข้ ยาสามัญประจำบ้าน ฯลฯ
เตรียมข้าวของ
การยก "ครัว" ไปเที่ยวโกลาหลพอสมควรค่ะ แต่น่าดีใจสำหรับคนมีลูกโต ว่าช่วยเหลือตัวเองได้มาก มีข้อแนะนำในเรื่องการเตรียมข้าวของว่า ให้ลูก ๆ หัดเตรียมข้าวของของเขาเอง เช่น เสื้อผ้า ถ้าไปเที่ยววันเดียวมีเสื้อผ้าไปสำรองสักชุดก็ดี(เผื่อเล่นน้ำ หรือมอมแมม)กระติกน้ำ หมวก สมุดบันทึก ปากกา ฯลฯ
เตรียม อาหารไปด้วยจะประหยัดกว่าเยอะค่ะ ถ้ามีเวลาเตรียมอาหารกลางวันที่หอบไปได้สะดวก อย่างเช่น ข้าวผัด หรือข้าวกับหมูทอด ไก่ทอด ไข่เจียว ไข่ต้ม แซนด์วิช ชวนลูกช่วยกันเตรียมคนละไม้คนละมือ
กล้องถ่ายรูป วิดีโอ ถ้ามี ช่วยให้ลูกจดจำเรียนรู้ได้ดีกว่าดูด้วยตาเฉย ๆ
หนังสือ คู่มือ เกี่ยวกับสถานที่ที่จะไป หากมีเวลาคุณพ่อคุณแม่ค้นคว้าประวัติหรือรายละเอียดไว้ล่วงหน้า เวลาไปเที่ยวจะได้มีภูมิไว้บรรยายให้ลูกฟัง จะทำให้การเที่ยวมีความหมายขึ้นอีกมากทีเดียวค่ะ
ข้อควรปฏิบัติในการดำน้ำ
ข้อควรปฎิบัติในการดำน้ำ (อสท)
"การดำน้ำ" ถือเป็นกิจกรรมทางน้ำที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง เพราะเสมือนได้เปิดโลกกว้างไปยลโฉมความงดงามใต้ท้องทะเล จึงไม่ต้องแปลกใจหากในปี ๆ หนึ่ง จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปดำน้ำในสถานที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก อีกทั้งทะเลไทย ไม่ว่าจะเป็นทางฝั่งอันดามันหรืออ่าวไทย ก็จัดได้ว่าสวยงามจนติดอันดับโลกหลายที่ แต่กิจกรรมการดำน้ำต้องยึดเอาความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะฉะนั้น วันนี้เรามีข้อควรปฎิบัติในการดำน้ำมาบอกกันด้วยค่ะ
1. ความปลอดภัย
ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนการดำน้ำตื้นและดำน้ำลึก
รับประทานอาหารในระดับที่เหมาะสม ไม่ควรรับประทานแบบอิ่มจัดก่อนการดำน้ำตื้นและดำน้ำลึก
ให้ว่ายน้ำใกล้ท่าเทียบเรือ ใกล้เรือที่จอดอยู่ หรือบริเวณที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยอยู่
มีการจัดเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่นักดำน้ำ บริเวณชายฝั่ง บนท่าเทียบเรือ หรือบนเรือ
ควรดำน้ำเป็นคู่ หรือมีเพื่อนดำน้ำด้วย
หาก ประสบปัญหาในขณะดำน้ำ ให้ยกมือข้างหนึ่งข้างโบกไปมาเหนือศรีษะ และให้ฟังข้อแนะนำจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างระมัดระวัง ในขณะที่ได้รับความช่วยเหลือ
ไม่ดำน้ำในบริเวณเข้า-ออกของเรือ หรือบริเวณจุดจอดเรือ
ขณะ ไปดำน้ำ สิ่งที่อันตรายที่สุดคือ โดนเรือชน หรือถูกใบพัดเรือฟัน นักดำน้ำจึงควรป้องกันระวังตัวเองด้วยการไม่ว่ายเข้าใกล้เรือ ขณะเรือวิ่งเป็นอันขาด หากว่าเรือวิ่งเข้าให้เงยหน้ามองเรือ ผู้ขับเรือจะเห็นได้ชัดเจน
ควรดำน้ำในช่วงเวลาและสถานที่ซึ่งผู้ควบคุมกำหนดให้ หลีกเลี่ยงช่วงที่มีคลื่น หรือกระแสน้ำแรง
การดำน้ำลึกแบบสกูบาต้องมีบัตรดำน้ำ ควรปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด และอย่าเรียนด้วยตัวเอง
คำ เตือนของเจ้าหน้าที่ ผู้ดูแล และลูกเรือ เป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้ดำน้ำจึงควรรับผิดชอบตัวเองและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
2. การเตรียมอุปกรณ์ในการดำน้ำลึก
ใช้ตะกั่วถ่วงน้ำหนักให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันการจมลงไปกระแทกแนวปะการัง เราสามารถควบคุมการลอยตัวได้ โดยการใช้ตะกั่วน้ำหนักที่สมดุลกับร่างกาย และควบคุมลมหายใจ
ควรตรวจให้แน่ใจว่าอุปกรณ์มีขนาดพอดีกับตัวเอง เพราะหากอยู่ในน้ำจะปรับหรือเปลี่ยนได้ยาก
ควรสวมชูชีพขณะดำน้ำไว้ตลอดเวลา
ระหว่างอยู่ใต้น้ำหรือผิวน้ำ ควรตรวจสอบอุปกรณ์อยู่เสมอว่ายังอยู่กับตัวตลอดเวลา และใช้งานได้ดี
อุปกรณ์การถ่ายภาพอาจมีผลต่อการดำน้ำในเรื่องการลอยตัว และเคลื่อนที่ในน้ำ อย่าวางอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือของแปลกปลอมลงบนปะการังเมื่อต้องการถ่ายภาพ
เก็บอุปกรณ์ที่เป็นสายระโยงระยางให้เรียบร้อย สายอากาศสำรอง หรือสายวัดอากาศมักลากไปเกี่ยวกับปะการังอยู่เสมอ
รัดเข็มขัดตะกั่วให้เรียบร้อย เพราะถ้าหากเข็มขัดตะกั่วตกลงไป จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ปะการังได้
3. การเตรียมอุปกรณ์ดำน้ำตื้น
หน้ากาก (Mask) ช่วยไม่ให้น้ำสัมผัสกับหน้าและจมูกของคุณ หน้ากากทำจากยางซิลิโคนนิ่ม ๆ มีสายรัดหน้ากากที่สามารถปรับแต่งให้กระชับได้ กระจกเป็นชนิดที่ทนต่อแรงดันของน้ำ และในบางรุ่นจะมีวาล์วระบายน้ำ เวลาที่น้ำเข้าหน้ากาก
เสื้อชูชีพ ต้องรัดสายทุกเส้นถูกต้องและกระชับ โดยเฉพาะสายรัดเป้า ปัญหาที่พบเมื่อไม่รัดให้ถูกต้อง เวลาลงน้ำชูชีพจะลอยขึ้นมาดันคอหรือท่อหายใจ และที่สำคัญเสื้อชูชีพควรมีนกหวีด เพื่อไว้ใช้ในกรณีขอความช่วยเหลือเมื่ออยู่ห่างจากท่าเรือ หรือเกิดกรณีฉุกเฉิน
ท่อหายใจ (Snorkel) ช่วยให้คุณก้มหน้ากับผิวน้ำได้เป็นเวลานาน โดยไม่ต้องเงยหน้าขึ้นมาหายใจ ท่อหายใจมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งแบบธรรมดาและชนิดที่มีวาล์วระบายน้ำ เพื่อความสะดวกในการระบายน้ำออก เมื่อมีน้ำเข้าท่อหายใจ
ตีบกบ (Fins) ช่วยทำให้เคลื่อนไหวสะดวกเวลาอยู่ในน้ำ เพราะในน้ำเราใช้เท้าเคลื่อนไหวมากกว่ามือ เมื่อใส่ตีนกบแล้วจะเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น ซึ่งตีนกบมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบเปิดส้น (Open-heel fins) ซึ่งต้องสวมบูตก่อนแล้วจึงสวมตีนกบ และแบบปิดส้น (Full-heel fins) ซึ่งสามารถสวมตีนกบได้เลย เหมือนสวมรองเท้าปกติ ในการดำน้ำตื้นนิยมใช้แบบปิดส้นมากกว่า
ที่มา : http://travel.kapook.com/view27491.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)