วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เรื่องไม่เล็ก เคล็ดไม่ลับสำหรับซัมเมอร์




เรื่องไม่เล็ก-เคล็ดไม่ลับสำหรับ "เมษาฮาวาย" (คู่หูเดินทาง)

จะ(บรร)เจิด ไปมั้ยคุณขา..ถ้าซัมเมอร์นี้สะระแหน่จะเป็นฝ่ายเอ่ยปากชวน "หนุ่มกิมจิ" ที่รู้จักกันมาสักพักใน Facebook ไปละเสียดฟองเบียร์ เอ้ย...ฟองคลื่นที่ริมขายหาดขาวนวลยวนตาบนเกาะเสม็ดโน่น อ๊าย...พูดแล้วก็จั๊กกะเดียมหัวใจ ไม่เอาล่ะ ขอเก็บพ่อหนุ่มกินจิคนนั้นเอาไว้เฉพาะในยามฝันก็พอ เดี๋ยวพ่อช๊ะมีตัวแสบแอบจับได้ สะระแหน่จะอ่วมอรทัยกลายเป็นผักชีเน่าไปเสียก่อน เอ้า...เรามาพูดถึงวิธีเตรียมตัวเตรียมใจไปเที่ยวทะเลในหน้าร้อนนี้กันดี กว่า

สำหรับคนขี้เมา(เรือ) มีวิธีรับมือ ดังนี้ …

มองหา...หยูกยาประเภทยาหอม หรือยาไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) มาเตรียมกินไว้ก่อนเดินทาง

มอง หา...ทำเลที่นั่งบริเวณริมหน้าต่างให้ลมพัดเย็น ๆ มองเห็นวิวไกล ๆ ความเพลิดพลินดังว่าจะช่วยให้ท่านลืมเลือนอาการไม่สบายได้ชั่วขณะ

มอง หา...ที่งีบสบาย ๆ เท่าที่จะหาได้สักตื่น เมื่อเริ่มรู้สึกว่าอาการเมาเรือหรือคลื่นเหียนกำลังโบกมือทักทาย และควรจิบน้ำทีละน้อยๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ บางครั้งยังอาจช่วยบรรเทาอาการอยากอาเจียนได้

เปลวแดดแผดเผา

ความ ร้อนของแสงแดดนอกจากจะทำให้ผิวพรรณคล้ำ หรือรู้สึกปวดแสบร้อนจากการถูกแผดเผาแล้ว ยังอาจส่งผลให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย อาทิ เป็นลมแดด, ตะคริว, อ่อนเพลียจากความร้อน และความร้อนสูงรุนแรง (heat stroke) เป็นต้น วิธีป้องกันอันตรายจากแสงแดดคือ

หลีกเลี่ยงการตากแดดจัดจ้านตลอดทั้งวัน เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอากาศเป็นลมแดดและผิวหนังแสบไหม้ได้

ควร ทาครีมกันแดดที่มีตัวยากันแดดอย่างน้อย SPF 15 ขึ้นไป และเป็นชนิดกนน้ำ โดยทาให้ทั่วทั้งใบหน้า คอ หลัง ขา โดยเฉพาะบริเวณที่ไวต่อแสง หากมีอาการเป็นลมแดดหรือหมดสติ ให้รีบพาผู้ป่วยเข้าไปที่ร่ม ที่อากาศถ่ายเทสะดวก คลายชุดที่ใส่ให้หลวม และทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวจนอุณหภูมิลดต่ำลง

หาก ต้องตากแดดเป็นเวลานานๆ ร่างกายอาจสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ควรหลีกเลี่ยงการลงสระว่ายน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำหรืออาบน้ำเย็นทันที เพราะนั่นอาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อเกร็งหรือเป็นตะคริวได้

เป็นตะคริว

แม้คนจำนวนไม่น้อยจะว่ายน้ำเป็นหรือว่ายน้ำเก่ง แต่อุบัติเหตุและอันตรายก็สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ เพื่อความปลอดภัยเรามีคำแนะนำ ดังนี้ …

ก่อนว่ายน้ำควรทำการบริหารร่างกาย เพื่อเตรียมความพร้อมก่อน ประมาณ 10-15 นาที

หากเผชิญกับอาการเป็นตะคริว ให้พยายามประคองตัวให้ขึ้นมาบนฝั่ง จากนั้นรีบหาน้ำเกลือมาดื่ม (น้ำ 1 ลิตร ผสมเกลือ 1 ช้อนชา)

ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น ๆ หรือมีกระเป๋าน้ำร้อนห่อด้วยผ้าขนหนู วางประคบบริเวณกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว

พิษแมงกะพรุน

อาจทำให้มีอาการผื่นคัน หรือทำให้ปวดแสบปวดร้อนคล้ายอาการน้ำร้อนลวกได้ การรักษาคือเมื่อสัมผัสโดนผิวหนังให้รีบชะล้างด้วยน้ำทันที เพื่อล้างเอาพิษออก และทาด้วยยาประเภทสเตียรอยด์ครีม หรือลองมองหา “ผักบุ้งทะเล” ที่ชอบขึ้นตามริมชายหาดมาตำ และนำมาทาบริเวณที่เป็นแผลแต่ไม่ต้องขยี้ จะช่วยถอนพิษได้ เนื่องจากผักบุ้งทะเลมีสรรพคุณเป็นยา ลดการอักเสบจากพิษของแมงกะพรุน แก้แผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกได้

เมษาฮาวายนี้สะระแหน่ขอให้ชาว "คู่หูเดินทาง"เที่ยวทะเลกันด้วย ความสนุกสุโขสโมสรนะคะ เค็ม ๆ รวย ๆ ด้วยนิ อิอิ


ที่มา : http://travel.kapook.com/view12361.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น